เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” กับ “ไม่มี T” แตกต่างกันอย่างไร?

          หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” กับ “ไม่มี T” กันมานานแล้ว แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าสรุปเหล็กข้ออ้อย 2 แบบนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เหล็กทรัพย์จะอธิบายให้ทราบกันค่ะ หากกล่าวถึง “เหล็กที่มีสัญลักษณ์ตัว T” กับ “เหล็กที่ไม่มีตัว T” จะเป็นที่ทราบกันดีว่าหมายถึงเหล็กข้ออ้อย

          การระบุสัญลักษณ์ตัว “T” เป็นเพียงทำให้ผู้ใช้ทราบถึงกรรมวิธีการผลิตเท่านั้น ไม่ได้เป็นชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยแต่อย่างใด เป็นการผลิตเหล็กข้ออ้อยโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (heat treatment หรือ tempcored rebar) กล่าวคือ เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” จะเริ่มต้นด้วยกระบวนการรีดร้อนเช่นเดียวกับเหล็กข้ออ้อยปกติ แต่ภายหลังจากการรีดร้อนแท่นสุดท้ายที่ทำให้เหล็กข้ออ้อยมีขนาดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว เหล็กเส้นดังกล่าวจะผ่านกระบวนการทำให้เย็นโดยการฉีดสเปรย์น้ำ เหล็กเส้นจะเกิดการเย็นตัวเร็วกว่าการเย็นในอากาศปกติ จนได้การเย็นตัวที่เหมาะสม จึงหยุดการฉีดสเปรย์น้ำ เรียกเหล็กเส้นที่ผลิตชนิดนี้ว่าเป็น “TEMP-CORE”

สิ่งที่เหมือนกันระหว่างเหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” และ เหล็กข้ออ้อยปกติ

   • เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” เป็นเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน แต่ชั้นคุณภาพจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมอก.24-2559 ทุกประการ เช่นเดียวกับเหล็กข้ออ้อยปกติ (ไม่มีสัญลักษณ์ตัว T)

   • สมบัติทางกลของเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนซึ่งประกอบไปด้วยกำลังดึง, ความยืด และการดัดโค้งไม่แตกต่างกับเหล็กข้ออ้อยปกติ (ไม่มีสัญลักษณ์ตัว T)

   • ความทนทานต่อไฟไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หากนำไปใช้เสริมคอนกรีตและกำหนดระยะหุ้มให้เป็นไปตามมาตรฐาน

   • สมรรถนะในการต่อเหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” ไม่มีความแตกต่างกับเหล็กข้ออ้อยปกติ (ไม่มีสัญลักษณ์ตัว T) ทั้งนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และต้องจัดให้มีการทดสอบกำลังดึงของจุดต่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักปฏิบัติที่ดี

   • ด้านการนำไปใช้งาน งานก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ เช่น บ้าน, อาคาร, โรงงาน ฯลฯ สามารถนำไปใช้งานได้ทั้ง 2 แบบ

ข้อแตกต่าง

   • ด้านการนำไปใช้งาน เหล็กข้ออ้อยปกติ (ไม่มีสัญลักษณ์ตัว “T”) จะเหมาะกับงานกรมทางหลวง เช่น งานก่อสร้างถนน, งานก่อสร้างสะพาน, งานก่อสร้างอุโมงค์ ฯลฯ เนื่องจากเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างถนนจะมีเรื่องความล้า (Fatigue) ของเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันถึงคุณสมบัติในด้านความทนทานการล้าของเหล็กที่มีสัญลักษณ์ตัว “T”

:: ขยายความเรื่องความล้า (Fatigue)

      คือ การที่เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตได้รับแรงซ้ำไปซ้ำมา เช่น การบิดไป-บิดมา ดึงปล่อย-ดึงปล่อย ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนตอนที่รถกำลังวิ่งบนถนน อาจส่งผลให้เกิดรอยร้าวขึ้นภายในเนื้อเหล็กเส้น จนในที่สุดเหล็กเส้นจะเกิดการแตกหักทันทีทันใดเมื่อได้รับความเค้นเพียงเล็กน้อย

   • เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” คือ เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน มีการสเปรย์น้ำหลังจากที่รีดเหล็กเสร็จ ทำให้ผิวเหล็กเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว แต่แกนกลางยังร้อนอยู่ ส่วนเหล็กข้ออ้อยปกติจะไม่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน เมื่อรีดเสร็จเหล็กจะถูกปล่อยให้เย็นตัวในอากาศโดยไม่มีการสเปรย์น้ำ

          เหล็กทรัพย์มีจำหน่ายเหล็กข้ออ้อยทั้ง 2 แบบ คือ เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัว “T” และ เหล็กข้ออ้อยปกติ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/สั่งซื้อเหล็กได้ที่ LINE OFFICIAL (Click) หรือ สั่งซื้อเหล็กออนไลน์ได้ที่ >> Click <<

 

บจก.เหล็กทรัพย์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์เอนก ศิริพานิชกร

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มจธ.

กรรมการจรรยาบรรณ และอนุกรรมการมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ สภาวิศวกร

ประธานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (กว.9) สมอ.

ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า

You cannot copy content of this page