มอก. ย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มอก. หมายถึง ข้อกําหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กําหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตเรื่องการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ซึ่งมอก. แบ่งได้ 2 ประเภท คือ มอก.ทั่วไป และ มอก.บังคับ
มอก.ทั่วไป : เป็นเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ที่ทาง สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ไว้ ซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นความจำนง เพื่อทำการขอคำรับรองคุณภาพจาก สมอ. ได้โดยตามความสมัครใจ ซึ่งจะแสดงถึงคุณภาพสินค้าที่ตรงไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดในมาตรฐาน และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้านั้นมีคุณภาพและปลอดภัย
มอก.บังคับ : เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีกฏหมาย กำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งบังคับให้ผู้ผลิต ต้องผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
ปัจจุบันสินค้าที่สมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) กําหนดเป็นมาตรฐานมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจําวันหลากหลายประเภท ได้แก่ ประเภท วัสดุก่อสร้าง, อาหาร, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ยานพาหนะ เป็นต้น
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เหล็กมีดังนี้
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล็กของประเทศไทย
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์สากล
ผลิตภัณฑ์เหล็กและมอก.ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
• มอก.20-2559 : เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (เหล็กเส้นกลม)
• มอก.24-2559 : เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (เหล็กข้ออ้อย)
• มอก.348-2559 : เหล็กลวดคาร์บอนต่ำ
• มอก.1227-2558 : เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
• มอก.1228-2561 : เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น (มาตรฐานบังคับ)
• มอก.107-2561 : เหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง (มาตรฐานทั่วไป)
Q : มอก. มีความสาคัญอย่างไร?
A : มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค คือ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้ามีความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน ได้สินค้าคุณภาพดี ในราคาที่คุ้มค่า