12 อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบบ้าน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบบ้าน

1. แบบแปลนบ้าน เพราะ จำเป็นต้องใช้ในการอ้างอิงจุดต่างๆ ตัวแปลนบ้าน เราจะได้รู้ระยะต่างๆ ความสูงของจริงว่าตรงกับแบบหรือไม่? เราจะสามารถทักท้วงได้ เพราะ ถ้าคุณไม่มีตัวแบบเป็นตัวอ้างอิง เป็นตัวมาตรฐานในการยึดถือทำตามเราก็จะไม่รู้เลยว่าจุดนี้สูงเท่าไหร่ ระยะผนังตรงนี้ตรงกับแบบหรือไม่

โมเดลบ้าน
สมุดโน๊ต

2. กระดาษหรือสมุด ใช้สำหรับจดข้อมูล ระบุรายละเอียดให้ชัดเจน ครบถ้วน ว่าตำแหน่งไหนตรวจพบปัญหาอะไร อยู่โซนไหนของบ้าน เช่น พบรอยร้าวตรงมุมหน้าต่างที่ห้องรับแขก เป็นต้น

3. ตลับเมตรหรือเครื่องวัดเลเซอร์ ใช้ตรวจเช็กระยะจากหน้างานจริง ให้ตรงตามแบบแปลนอย่างแม่นยำ และถูกต้อง, ใช้ตรวจเช็กระยะแนวตั้ง และแนวนอน

ตลับเมตร
ผ้าแถบ

4. อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย ทำเครื่องหมายจุดที่มีปัญหา เพื่อความชัดเจนในการถ่ายภาพ สะดุดตาสามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น สก็อตเทปสีต่างๆ ทำเครื่องหมายแปะไว้ตามตำแหน่งที่มีปัญหา

5. ถังน้ำ ไว้ใส่น้ำเพื่อทดสอบเรื่องความลาดเอียงของพื้น หรือเช็กโดยการลองเทน้ำลงพื้น (เช่น พื้นโรงจอดรถ,พื้นห้องน้ำ) เพื่อทดสอบความเร็วในการระบายน้ำ มีการขังของน้ำที่พื้นหรือไม่ หากตรวจเช็กแล้วพบปัญหารีบให้ช่างปรับความลาดเอียงของพื้นใหม่

กระป๋องน้ำ

6. เศษผ้าหรือดินน้ำมัน ใช้ตรวจเช็กบริเวณที่มีน้ำรั่ว อุดรูระบายน้ำ กรณีที่ต้องการจะขังน้ำ เพื่อทดสอบการรั่วซึม

7. ไฟฉาย ใช้ตรวจเช็กพื้นที่หน้างานที่มีความมืด เช่น ตำแหน่งเหนือฝ้าเพดาน ใต้หลังคา ช่องท่อ

ไฟฉาย
ไม้บรรทัด

8. ไม้บรรทัดยาว ควรจะมีความยาวตั้งแต่ 2 ฟุตขึ้นไป เพื่อตรวจเช็กความเรียบของพื้นผิวของงานผนัง
:: ผนังที่ทำมาเรียบร้อยดีแล้ว เมื่อใช้เครื่องมือวัดจะแนบสนิท ไม่เกิดช่องโหว่

9. ลูกแก้ว ใช้ตรวจเช็กความลาดเอียงของพื้นห้อง เช่น พื้นห้องน้ำ พื้นจอดรถ พื้นระเบียง พื้นเฉลียง

ลูกแก้ว
กล้องดิจิตอล

10. กล้องถ่ายรูป/โทรศัพท์ ใช้ในการเก็บรายละเอียดงาน เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิงหลักฐานให้ได้มากที่สุดและช่วยบันทึกข้อมูลต่างๆป้องกันการลืม หรือ จำผิด

11. บันได ใช้ตรวจเช็กพื้นที่เหนือฝ้าเพดาน งานใต้หลังคาและจุดที่มีความสูง เพื่อตรวจเช็กว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

บันได
ปลั๊กไฟ

12. อุปกรณ์ตรวจปลั๊กไฟ ใช้ตรวจเช็กความถูกต้องและความเรียบร้อยของแต่ละจุดให้มีความพร้อมที่จะใช้งานจริง

          หากตรวจพบข้อผิดพลาดอะไรควรรีบแก้ไขจัดการให้เรียบร้อย ก่อนที่จะทำการโอนรับบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาเวลาเข้าอยู่อาศัยแล้ว จะได้ไม่ต้องเจอปัญหาจุกจิกกวนใจตามหลัง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือเศรษฐีรีโนเวต

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า