ปัจจุบันมีการคิดค้นและพัฒนาวัสดุต่างๆมาใช้ในงานก่อสร้างมากมาย เช่น อิฐมวลเบา, คอนกรีตมวลเบา, ไฟเบอร์กลาส เป็นต้น วันนี้เราจะมาพูดถึงไฟเบอร์กลาสกันว่ามีข้อดีอย่างไรบ้าง และยังคงสู้เหล็กได้หรือไม่
เหล็ก (Steel) จะมีสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือ Fe มักพบได้มากในธรรมชาติ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสีแดงอมน้ำตาล เมื่อนำเข้าใกล้กับแม่เหล็ก จะดูดติดกัน
เหล็กกล้า เป็นโลหะผสม ที่มีการผสมระหว่าง เหล็ก และคาร์บอน รวมถึงธาตุอื่นๆ อีกเล็กน้อย เช่น ซิลิคอน แมงกานีส ทำให้มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง มีความทนทาน แข็งแรง และสามารถต้านทานต่อแรงกระแทก การสึกหรอได้ ฯลฯ
ข้อดีของเหล็ก
• นำมาใช้ได้ทั้งงานรากฐานและงานโครงสร้าง (เสา, คาน)
• การงอเหล็กเพื่อใช้ในการยึดเหนี่ยว เหล็กสามารถทำได้
• สามารถรับได้ทั้งแรงดึง (Tensile Force) และแรงอัด (Compression Force)
• เหล็กจะมีความเหนียวมีช่วงเวลาของการยืด (จากจุกคราก Yield จนถึงจุดแตกหัก Break point) หากช่วงเวลาเกิดแผ่นดินไหวแม้คานจะหักหรือเสาจะแตกแต่เหล็กจะเป็นตัวที่ช่วยประวิงเวลาดึงรั้งไว้ ซึ่งจะทำให้ตึกไม่ถล่มลงมาทันที ถึงสิ่งก่อสร้างจะเกิดความเสียหาย แต่สามารถช่วยชีวิตคนให้หนีได้ออกมาทันเวลา
• เหล็กมีผลทดสอบเฉพาะทาง, และการใช้งานเชิงประจักษ์มามากมายและยาวนาน เช่น ค่าความเหนียว, ค่าแรงดึง, ค่าแรงอัด ฯลฯ ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน
ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือ เส้นใยแก้ว เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นจากแก้วเป็นหลัก มีการผสมด้วยหินปูน หินฟันม้า เติมกรดบอริกและสารเติมแต่งอื่นๆ
ข้อดีของไฟเบอร์กลาส
• ราคาถูก
• รับแรงดึงได้สูงกว่าเหล็ก
• น้ำหนักเบา
• ไม่เป็นสนิม
ในงานก่อสร้างไฟเบอร์กลาสอาจจะถูกแนะนำว่าสามารถให้ใช้ทดแทนได้ในเฉพาะทางราบพื้น ยังไม่เหมาะมากนักที่จะนำมาทำเสาคานในแนวดิ่ง อาจด้วยเหตุผลทางคุณสมบัติบางประการเช่น ไฟเบอร์กลาสอาจรับแรงดึงได้ดีมากๆ แต่หากถึงจุด Crack ก็จะขาดทันที ทั้งนี้เหล็กและไฟเบอร์กลาสล้วนแต่มีข้อดีและข้อควรพิจารณา อยู่ที่การนำไปใช้งานให้เหมาะสม
การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพในงานก่อสร้างถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะ จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของงานที่สร้างขึ้น ซึ่งวัสดุนั้นๆควรมีความแข็งแรงได้มาตรฐานที่ทางวิศวกรได้ออกแบบไว้ ทนทานต่อการใช้งานเป็นเวลานาน และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้/ผู้อยู่อาศัยเป็นปัจจัยหลัก